วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Search Engine




                                        Search Engine
     เครื่องมือค้นหาความรู้
            
Search Engine คือชื่อภาษาอังกฤษที่มาจากคำว่า Search ที่แปลว่า ค้นหา
สืบค้น ตรวจสอบ แสวงหา ส่วนคำว่า Engine แปลว่า เครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ หรือ
เครื่องมือที่อาจหมายถึง วิธีการก็ได้ด้วย

               ในโลกของอินเทอร์เน็ทข้อมูลมีมากมายเหลือเกิน ถ้าจะใช้เวลาในการอ่านทุกสิ่งบน
เข้าไปค้นหา อินเทอร์เน็ต คงต้องใช้เวลา นานหลายชั่วอายุคน จริง ๆ แล้วเราคงไม่มีความสนใจ
ในทุกเรื่อง แต่คงสนใจเฉพาะเรื่องที่เราสนใจเท่านั้น จึงมีคนคิดเครื่องมือใน การช่วยค้นหา
ข้อมูลที่ต้องการ นั้นก็คือ Search Engine

Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถหาข้อมูลผ่าน
อินเตอร์เน็ตก็ได้ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีย์เวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box
แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูก แสดงออกมาอย่างมากมาย เพื่อให้เราเลือกข้อมูลตรงกับ
ความต้องการของเรามากที่สุด โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผล
แบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา Search Engine โดยทั่วไป
มี 3 ประเภท โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และการจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกัน เพราะมีลักษณะ
การทำงานที่ต่างกัน

                                                     ประเภทของ Search Engine
1. Keyword Index
2. Subject Directories
3. Metasearch Engines
               Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจ
ที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรก
ของเว็บเพจ วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับ
การเรียงลำดับข้อมูลก่อนหลัง  การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก
แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึง
รายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่ถ้าต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล การค้นหา
แบบนี้จะเหมาะสมที่สุด เว็บที่ให้บริการ Search Engine แบบ Keyword Index
ได้แก่เว็บ http://www.google.com/  และ  http://www.altavista.com/

 Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine
ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้คนพิจารณาเว็บเพจ แต่ละเว็บ แล้วทำการจัดหมวดหมู่
โดยจะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ
อยู่ในกลุ่มของอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัด
แบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป
http://www.thaiwebhunter.com/  และ   http://www.sanook.com
      Metasearch Engines จะเป็น Search Engine ที่ใช้ในการค้นหาเว็บ
ด้วยตัวของ Search Engine แบบ Metasearch Engines เองแล้ว แต่ที่เด่นกว่านั้นคือ
Search Engine แบบ Metasearch Engines จะยังสามารถเชื่อมโยงไปยัง Search
Engine ประเภทอื่นๆ เพื่อเรียกดูข้อมูลที่ Search Engine อื่นๆ ค้นพบ โดยสังเกตได้จาก
จะมีคำว่า [Found on Google, Yahoo!] ต่อทางด้านท้าย นั้นก็หมายความว่าการค้นหา
ข้อความนั้นๆ มาการเชื่อมโดยไปค้นข้อมูลจาก เว็บ Google และ Yahoo แต่การค้นหา
ด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษรและมักจะ
ไม่ค้นหาคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) และที่สำคัญ Search Engine
แบบ Metasearch Engines ส่วนมากไม่รองรับภาษาไทย
http://www.dogpile.com  และ        http://www.kartoo.com/

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/
nittaya_c/meaow2/page04_2.htm
เทคนิค 8 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล
ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น
หรือประสบอยู่เสมอๆ ก็คงจะหนี ไปไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อ ความสะดวกในการใช้งานคุณจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆ เพื่อช่วย ลดหรือจำกัดคำที่ค้นหาให้แคบลง
และตรงประเด็นกับเรามากที่สุด ดังนี้
     1. เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจะค้นหา
ข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ yahoo
เพราะโอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมา นั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine ใช้คำมากกว่า 1
คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ ผลลัพธ์ที่มีขนาด แคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น

     2. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่น การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพยนตร์ก็น่า
ที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใกล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพธ์ที่ได้น่าจะเป็น
ที่น่าพอใจกว่า โดยใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุม กลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าต้องการผลการค้นหาที่มีคำในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น
"free shareware" เป็นต้น
      3. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการให้ค้นหา
คำดังกล่าวแบบไม่ต้องสน ใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากต้องการอยากที่จะให้ค้นหาคำตรงตามแบบที่เขียนไว้ก็ให้ใช้ตัวอักษรใหญ่แทน
ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา มีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคือ AND, OR, NOT
      4. AND สั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้นๆ มาแสดงด้วยเท่านั้น โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น
phonelink AND pager เป็นต้น
       5. OR สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง
       6. NOT สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butter หมายความว่า
ให้ทำการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น
       7. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ + หน้าคำที่ต้องการจริงๆ - (ลบ) ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ
() ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น (Pentium +computer) cpu
       8. ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น
อะไรไม่สนใจ *tor เป็นการ ให้หาคำที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ



ภาพจาก www.interactivereturn.com

Keyword

คือ การเรียกคำค้นหาในแต่ละเว็บไซต์ ว่าใช้คำค้นหาอะไรเป็นหลักในหน้าเว็บเพจนั้นๆ เพื่อใช้เป็นคำค้นหาข้อมูล
จาก Search Engine  และเรายังสามารถตรวจสอบว่า Keyword คำนั้นๆ มีผู้ใช้มากน้อยกันแค่ไหน
ซึ่งหาเราทำเว็บไซต์ใหม่ๆ ซึ่งต้องใช้ keyword หลักๆ และสำคัญมากๆ อาจจะไม่ติดอันดับการค้น
หรืออาจติดอันดับแต่ค่อนข้างช้า ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่หลายปัจจัย รวมทั้งเนื้อหาและคุณภาพเว็บไซต์เป็นสำคัญ
กลยุทธ์การสืบค้นข้อมูล/สารนิเทศบน INTERNET
ในการสืบค้นข้อมูลบน INTERNET  โดยทั่วไปมีกลยุทธ์การสืบค้น (Search strategies) อยู่ 2 ระดับ คือ
    1. กลยุทธ์การสืบค้นข้อมูลเบื้องต้น (Basic  search strategies)
    2. กลยุทธ์การสืบค้นข้อมูลขั้นสูง (Advanced search strategies)
1. กลยุทธ์การสืบค้นข้อมูลเบื้องต้นที่ใช้กันแพร่หลาย ได้แก่
    1.1 การใช้คำ (A word)
    1.2 การใช้วลี (A phrase)
    1.3 การใช้วลีร่วมกับสัญลักษณ์บางอย่าง (A phrase & notations)
    1.4 การใช้ประโยคคำถาม (A question)
    1.5 การใช้ชื่อเฉพาะ (A specific name)
    1.6 การใช้การเชื่อมโยงจากไซต์อื่นมายังไซต์ที่ผู้ใช้กำลังสืบค้น (Links to this URL)
    1.7 การใช้ตรรกะบูลีน (Boolean operators/Boolean expressions) or, and, not
2. กลยุทธ์การสืบค้นขั้นสูง  ใช้เมื่อผู้ใช้ต้องการค้นข้อมูลที่ลึกลงไปในเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ หัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง ผู้ใช้จำเป็นต้องเรียนรู้กลยุทธ์ในการสืบค้น  เฉพาะสาขาวิชา หรือ เฉพาะเรื่องบน INTERNET โดยใช้ไซต์อื่นๆ นอกเหนือจาก Web sites เช่น Gopher sites, FTP sites, Telnet sites เป็นต้น ซึ่งจะไม่กล่าวในรายละเอียดในที่นี้



ภาพจากhttp://www.highposition.net/


ที่มาhttp://www.patwit.ac.th/search/nu4.html